7.1 โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์

หลักการเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การกำหนดแผนในการแก้ปัญหา
  3. การเขียนโปรแกรม
  4. การทดสอบและตรวจสอบโปรแกรม
  5. การจัดทำคู่มือเอกสารในการใช้โปรแกรม
 
  1. การวิเคราะห์ปัญหา  องค์ประกอบของการวิเคราะห์งาน ประกอบด้วย
    1. ผลลัพธ์ (Output) ต้องมองว่าโจทย์หรืองานที่เราทำต้องการผลลัพธ์อย่างไร เพื่อตรวจสอบว่าได้ผลลัพธ์เป็นไปตามต้องการหรือไม่
    2. ข้อมูลที่รับเข้า (Input) เป็นการรับข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผล ต้องคัดแยกว่าข้อมูลส่วนใดเป็นข้อมูลนำเข้า หรือข้อมูลส่งออก
    3. ประมวลผล (Process) คือ การนำข้อมูลที่รับเข้ามา มาทำการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
    4. แปร (Variable) เป็นตัวสำหรับเก็บค่าข้อมูล เพื่อใช้ในการอ้างอิงในการประมวลผลและแสดงผลข้อมูล
  2. การกำหนดแผนในการแก้ปัญหา
    1. การเขียนผังงาน 
      เป็นการลำดับขั้นตอนในการเขียนโปรแกรม เริ่มตั้งแต่กระบวนการทำงานแรกจนถึงการสิ้นสุดของงาน ซึ่งการเขียนผังงานมีรูปแบบการเขียนผังงานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ
      1. การเขียนผังงานตามลำดับ (Sequential)

         
      2. การเขียนผังงานแบบมีเงื่อนไข (Condition)

         
      3. การเขียนผังงานแบบวนรอบในการทำงาน

         
    2. การเขียนคำสั่งเทียม (Pseudo code)
      1. การเขียนคำสั่งตามลำดับ (Sequential)

         
      2. การเขียนคำสั่งแบบมีเงื่อนไข (Condition)

         
      3. การเขียนแบบวนรอบการทำงาน

         
  3. การเขียนโปรแกรม
    หลังจากใช้ผังงานหรือคำสั่งเทียม ในการกำหนดแผนในการแก้ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่ต้องการ
  4. การทดสอบและตรวจสอบโปรแกรม
    เมื่อโปรแกรมเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำโปรแกรม มาทำการทดสอบและตรวจสอบว่า โปรแกรมที่ทำขึ้น สามารถทำงานตามที่ต้องการได้หรือไม่ โดยนำมาทดสอบกับระบบงานจริง ถ้าตรวจพบข้อผิดพลาด จะได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
  5. การจัดทำคู่มือเอกสารการใช้โปรแกรม
    เมื่อโปรแกรมได้ผ่านกระบวนการทดสอบและตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการจัดทำคู่มือและเอกสารประกอบการใช้โปรแกรม สำหรับทำงานต่อไป

ตัวอย่างโปรแกรมหาค่าอัตราเร็วของวัตถุ จากสูตร V = s/t
 
วิเคราะห์งาน
  1. ผลลัพธ์ (Output) คือ ค่า V
  2. ข้อมูลที่รับเข้า (Input)  คือ s และ t
  3. การประมวลผล (Process) V = s/t
  4. ตัวแปร (Variable)
V = อัตราเร็ว
s = ระยะทาง
t = เวลา

เขียนผังงาน




เขียนโปรแกรม

#include
main(){
     float v, s , t;
     printf(“Input s : ”);
     scanf(“%f”,&s);
     printf(“Input t : ”);
     scanf(“%f”,&t);
     v = s/t;
     printf(“ V = %.2f”,v);
     getch();
}
 


 

เข้าดู : 336 ครั้ง