ควรกังวลอะไร ในข่าว อีเมล์และรหัสผ่าน หลุดจากแหล่งต่าง ๆ กว่า 773 ล้านอีเมล์ และ 21 ล้านรหัสผ่าน

หลายคนคงได้เห็นข่าวเหล่านี้
แต่อย่าเพิ่งตกใจจนเกินไป เพราะเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยครั้ง และเป็นธรรมดาของโลกไซเบอร์ ที่ระบบต่าง ๆ จะมีช่องโหว่ หรือจุดบกพร่อง ทำให้โดนโจมตี เพื่อหวังผลข้อมูล หรือสิ่งอื่น ๆ แล้วจริง ๆ เราควรกังวลอะไร กับเหตุการณ์เหล่านี้
วิเคราะห์ข้อมูลจากข่าว
เว็บไซต์ที่เปิดเผยการหลุดของข้อมูลครั้งนี้ คือ https://www.troyhunt.com (เจ้าของเว็บ Troy Hunt เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์) สรุปได้ดังนี้
- จำนวนข้อมูลที่หลุดออกมาจริง ๆ คือ 2,692,818,238 แถว (Collection #1 is a set of email addresses and passwords totalling 2,692,818,238 rows)
- มีข้อมูลอีเมล์คู่กับรหัสผ่าน จำนวน 1,160,253,228 (In total, there are 1,160,253,228 unique combinations of email addresses and passwords.)
- มีการกรองข้อมูลที่ซ้ำออกแล้วก่อนนำเข้าระบบ HIBP ได้อีเมล์ทั้งหมด = 772,904,991 อีเมล์ (The unique email addresses totalled 772,904,991) โดยถูกโหลดเข้าโปรแกรม Have I Been Pwned (HIBP)
- ข้อมูลรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันทั้งหมด 21,222,975 รหัสผ่าน (There are 21,222,975 unique passwords)
- ข้อมูลต้นฉบับถูกโพสไว้ที่ MEGA ซึ่งเป็นเว็บฝากไฟล์ขนาดใหญ่ โดยข้อมูลประกอบด้วยไฟล์กว่า 12,000 ไฟล์ ขนาดรวม 87GB (The collection totalled over 12,000 separate files and more than 87GB of data. ) ซึ่งตอนนี้ถูกลบไปแล้ว แต่ก็มีการกระจายไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้ว

- Collection #1 เป็นข้อมูลเก่าประมาณ 2-3 ที่แล้ว (Collection #1 was at least 2-3 years old.)
- ข้อมูลที่หลุดไม่ได้มีแค่ Collection #1 แต่ยังมี Collection #2 , Collection #3, Collection #4, Collection #5 , AP MYP&ZABUGOR #2, ANTIPUBLIC #1 โดยรวมกันประมาณ 993.36GB ถูกประกาศขายในราคาเพียง $45 (ประมาณ 1500 บาท)


- ข้อมูลเกือบ 1TB ที่แฮกเกอร์นำออกมาขาย (แฮกเกอร์ใช้ชื่อใน Telegram ว่า Sanixer) ไม่ใช่ทั้งหมดที่เขามี แต่ยังมีอีกเยอะ รวมกันประมาณ 4TB และเป็นข้อมูลที่ใหม่ (ประมาณ 1 ปี) (His other password packages, which he said are not all pictured in the above screen shot and total more than 4 terabytes in size, are less than a year old, Sanixer explained.)
สรุปข้อมูล
- แฮกเกอร์จงใจปล่อย Collection # 1 หรือข้อมูลอีเมล์และรหัสผ่าน ซึ่งเป็นข้อมูลค่อนข้างเก่าแล้ว เพื่อโปรโมทขายข้อมูลที่มีเยอะเกือบ 1TB ในราคาเพียง $45 (ประมาณ 1500 บาท)
- คาดว่าข้อมูลกว่าอีเมล์และรหัสผ่านเกือบ 1TB ได้แพร่กระจายสู่แฮกเกอร์ทั่วโลกแล้ว
- มีข้อมูลอีเมล์และรหัสผ่านอีกกว่า 4TB ที่ยังไม่ได้ถูกปล่อยออกมาขาย
ข้อสังเกตุ
- การใช้เว็บ haveibeenpwned.com ตรวจสอบอีเมล์ ไม่ได้ช่วยให้เราปลอดภัยจากแฮ็กเกอร์ เพราะยังมีข้อมูลอีกเยอะที่ไม่ได้เพิ่มลงในเว็บ haveibeenpwned.com
- ข้อมูลรหัสผ่านที่หลุดออกมา ส่วนหนึ่งอยู่ในรูปแบบที่เข้ารหัสไว้ หากเราตั้งรหัสผ่านที่มีความซับซ้อนสูง ถึงแม้แฮกเกอร์จะได้รหัสผ่านไป ก็ยังไม่สามารถถอดรหัสนั้นได้ทันที เรายังมีเวลาให้ไปเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่
- การใช้โปรแกรมบริหารรหัสผ่าน (เช่น 1Password) ไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยจากแฮ็กเกอร์ 100% แต่ลดความเสี่ยงจากการแฮกลงได้เยอะกว่าไม่ได้ใช้
ข้อกังวล
- หากใช้รหัสผ่านเก่าตลอดเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมา และใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลาย ๆ บริการ รวมทั้งรหัสผ่านอีเมล์ ท่านจะอยู่ในความเสี่ยงสูงที่จะถูกขโมยอีเมล์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญคือข้อมูลทางการเงิน เงินอาจจะหายไปโดยไม่รู้ตัว
- การใช้รหัสผ่านเดียวกัน ในเว็บที่มีความปลอดภัยต่ำ (ไม่มีการเข้ารหัส) ถึงแม้จะเป็นรหัสผ่านที่เดายาก แต่ก็จะไม่มีประโยชน์ เพราะจะมองเห็นรหัสผ่านทันที ไม่มีการป้องกันอะไร
- การใช้รหัสผ่านที่ง่ายเกินไป ก็มีโอการในการโดนขโมยข้อมูลได้ง่าย ถึงแม้จะใช้เว็บที่มีระบบความปลอดภัยสูง
ข้อแนะนำ
- ควรใช้รหัสผ่านที่มีการผสมกันระหว่าง ตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ และมีความยาวมากพอ ตัวอย่างเช่น Fi'giupookg=nvdrbmpklii8N เทคนิคง่าย ๆ โดยการใช้ข้อความภาษาไทย แต่ใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ
- ควรเปิดใช้การยืนยันหลายชั้น หรือเรียกว่า Multi-Factor Authentication เช่น ยืนยันรหัสทาง SMS , อีเมล์ หรือ Biometric หากระบบที่เราใช้มีบริการเหล่านี้
- ควรแยกใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน ในแต่ละระบบ หรือแยกระดับความสำคัญ หากเป็นระบบเกี่ยวกับการเงินก็ใช้รหัสผ่านที่เดายาก ๆ (เพราะรหัสผ่านพวกนี้จะถูกเข้ารหัสอีกที) แต่ถ้าเป็นระบบที่ไม่มีความสำคัญก็สามารถใช้รหัสผ่านที่จำง่ายใช้ง่ายได้ เพราะไม่มีอะไรสำคัญ
- ควรตรวจสอบเว็บไซต์หรือระบบที่เราใช้งานทุกครั้งที่มีการกรอกรหัสผ่าน ว่าเป็นเว็บไซต์จริงหรือไม่ เพราะอาจจะถูกหลอกให้ป้อนรหัสผ่านได้ (เรียกว่า Phishing website)
- ควรเปลี่ยนรหัสผ่านเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม (เช่น ทุก 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี แล้วแต่ความสำคัญของระบบ)
- ไม่มีระบบใดปลอดภัย 100% ดังนั้น เมื่อโดนแฮก หรือขโมยรหัสผ่าน ต้องตั้งสติ แล้วหาทางป้องกัน หรือแก้ไข ให้ลดผลกระทบให้น้อยที่สุด
หวังว่าทุกคนจะปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ในยุคสงครามไซเบอร์ที่รุนแรงขึ้นทุกวัน
แหล่งข้อมูล
1. https://www.troyhunt.com/the-773-million-record-collection-1-data-reach/
2. https://krebsonsecurity.com/2019/01/773m-password-megabreach-is-years-old/
วันที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 12.55 น. | เข้าดู 171 ครั้ง